การทำงาน (ดูภาพประกอบ B)

เครื่องมือวัดใช้เพื่อตรวจสอบพื้นผิวใต้ของพื้นที่เซ็นเซอร์ (17) ในทิศทางการวัด A จนถึงความลึกสูงสุดในการตรวจจับ

ในการตรวจวัดแต่ละครั้ง เครื่องจะค้นหาวัตถุโลหะ (เช่น ท่อทองแดงหรือเหล็กกล้าเสริมแรง) และสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้า (50−60 เฮิรตซ์) โดยอัตโนมัติ ปุ่มวัตถุโลหะ/กระแสไฟฟ้า (4) จะติดสว่างเพื่อยืนยันการทำงาน

หากต้องการตรวจหาไม้ในผนังมวลเบาเพิ่มเติม ให้กดปุ่มวัสดุไม้ (5) ปุ่มวัสดุไม้ (5) จะติดสว่างเพื่อยืนยันการทำงาน หากต้องการปิดการค้นหาไม้ ให้กดปุ่มวัสดุไม้ (5) หรือปุ่มวัตถุโลหะ/กระแสไฟฟ้า (4) เพื่อให้ปุ่มวัสดุไม้ดับลง (5)

หมายเหตุ: โปรดเปิดใช้งานฟังก์ชั่นการค้นหาไม้สำหรับการตรวจหาในผนังมวลเบาที่มีโครงสร้างไม้เท่านั้น การตรวจหาบนพื้นผิวอื่นๆ อาจทำให้ผลการวัดมีประสิทธิภาพลดลง

เครื่องมือวัดบนพื้นผิวที่ต้องการตรวจสอบ ไฟวงแหวน (1) จะติดสว่างเพื่อแสดงความพร้อมของระบบวัด

ถือเครื่องมือให้มั่นคงและอยู่ในระดับเดียวกันที่ส่วนมือจับ (8) อย่าเปลี่ยนตำแหน่งมือจับในระหว่างตรวจวัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าเอื้อมมือเข้าไปในบริเวณเซ็นเซอร์ (17)

เคลื่อนเครื่องมือวัดตามแนวเส้นตรงไปยังทิศทาง B โดยใช้แรงกดเบาๆ เสมอโดยไม่ต้องยกหรือเปลี่ยนแรงดันหน้าสัมผัส การเคลื่อนที่ของเครื่องมือวัดควรเกิดขึ้นตามแนวขวางเข้าหาวัตถุที่ตรวจหาอยู่ หากไม่ทราบทิศทางของวัตถุในผนัง ให้ทำการตรวจหาตามแนวทิศทางกากบาท (ดูที่ภาพ C)

คำแนะนำเกี่ยวกับการระบุตำแหน่งของแผ่นเหล็กกล้าเสริมแรง: ก่อนอื่นเครื่องมือวัดจะต้องตรวจพบพื้นผิวที่มีส่วนประกอบของแผ่นเหล็กกล้าเสริมแรง ดังนั้นให้ขยับเครื่องมือวัดตามพื้นที่รอบรัศมีวงกลม (เส้นผ่านศูนย์กลาง > 30 ซม.) บนพื้นผิวก่อนเริ่มการตรวจหาจริง จากนั้นทาบเครื่องมือวัดไปตามพื้นผิวโดยไม่ต้องยกออก และเริ่มขั้นตอนการตรวจหาตามปกติ ในลักษณะนี้เครื่องจะเคลื่อนผ่านบริเวณที่เป็นจุดตัดและตาข่ายของแผ่นเหล็กกล้าเสริมแรง

การแสดงตำแหน่ง:

  • หากไม่พบวัตถุใดๆ ภายใต้บริเวณเซ็นเซอร์ ไฟวงแหวน (1) จะติดสว่างเป็นสีเขียว ตัวแสดงการวัด (b) จะไม่มีข้อมูล และสัญญาณเสียงจะไม่ดังขึ้น
  • หากเครื่องมือวัดอยู่ใกล้วัตถุ ไฟวงแหวน (1) จะติดสว่างเป็นสีแดง เมื่ออยู่ในระยะที่ใกล้ขึ้น แถบเบี่ยงเบนที่ตัวแสดงการวัด (b) จะเพิ่มขึ้น และจังหวะของเสียงสัญญาณจะเร็วขึ้น
  • เมื่ออยู่เหนือกึ่งกลางวัตถุ ตัวแสดงการวัด (b) จะแสดงแถบเบี่ยงเบนที่มีค่าสูงสุดในการตรวจวัด ตัวแสดงผลศูนย์กลางวัตถุ (a) จะติดสว่าง และสัญญาณเสียงจะดังต่อเนื่อง ไฟวงแหวน (1) จะติดสว่างต่อเนื่องเป็นสีแดง
  • หากเครื่องมือวัดอยู่ห่างจากวัตถุ ตัวแสดงผลศูนย์กลางวัตถุจะดับลง (a) แถบเบี่ยงเบนที่ตัวแสดงการวัด (b) จะลดลง และจังหวะของสัญญาณเสียงจะช้าลง

ในครั้งแรกที่เคลื่อนผ่านบริเวณกึ่งกลางและขอบของวัตถุ ตำแหน่งดังกล่าวจะถูกแสดงอย่างคร่าวๆ
หากต้องการระบุตำแหน่งกึ่งกลางของวัตถุอย่างแม่นยำ ให้เคลื่อนเครื่องมือวัดย้อนกลับไปตามทิศทางของวัตถุโดยไม่ต้องยกออก จนกระทั่งศูนย์กลางวัตถุปรากฏขึ้นอีกครั้ง (ตัวแสดงศูนย์กลางวัตถุ (a) ติดสว่าง)
หากต้องการระบุขอบของวัตถุให้แม่นยำขึ้น ให้เคลื่อนเครื่องมือวัดออกจากศูนย์กลางวัตถุตามแนวเส้นตรงต่อไป จนกระทั่งไฟวงแหวน (1) ไม่ติดสว่างเป็นสีแดงอีก

รูทำเครื่องหมาย (2) จะอยู่เหนือจุดศูนย์กลางการวัด คุณสามารถทำเครื่องหมายจุดกึ่งกลางหรือขอบของวัตถุโดยใช้รูนี้ได้ตามต้องการ

หมายเหตุ: หลังจากทำเครื่องหมายวัตถุโดยใช้รูทำเครื่องหมาย (2) (เช่น ด้วยปากกา) คุณจะต้องเริ่มการตรวจวัดใหม่ เนื่องจากรอยปากกาอาจส่งผลต่อการวัดได้

ประเภทของวัตถุที่ตรวจพบจะปรากฏบนจอแสดงผล:

(h)

โลหะที่ไม่ใช่แม่เหล็ก (เช่น ท่อทองแดง)

(g)

โลหะแม่เหล็ก (เช่น เหล็กเสริมแรง)

(f)

สายนำกระแสไฟ เช่น สายไฟฟ้า

(e)

อโลหะ เช่น คานไม้

  • สายไฟต้องมีแรงดันไฟฟ้าไหลผ่าน ดังนั้นให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า (เช่น หลอดไฟและอุปกรณ์ต่างๆ) ไปยังสายไฟที่ตรวจหา เปิดอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อให้แน่ใจได้ว่าสายไฟดังกล่าวมีแรงดันไฟฟ้าไหลผ่าน
  • ค่าสัญญาณจากสายไฟไปยังเครื่องมือวัดต้องอยู่ในช่วง 50 ถึง 60 Hz หากสายไฟอยู่ในผนังชื้น (เช่น ความชื้น > 50 %) อยู่ด้านหลังฟอยล์โลหะ (เช่น ฟอยล์ฉนวนกันความร้อน) หรืออยู่ในท่อโลหะเปล่า สัญญาณดังกล่าวจะปล่อยออกไปไม่ถึงเครื่องมือวัด และเครื่องจะตรวจไม่พบสายไฟ
  • เครื่องมือวัดต้องได้รับการต่อกราวด์อย่างเหมาะสม ให้จับเครื่องมือไว้ให้มั่นคง (โดยไม่ต้องสวมถุงมือ) ที่ส่วนมือจับ (8) ตรวจดูว่าคุณอยู่ในบริเวณที่เท้าสัมผัสกับพื้นได้เป็นอย่างดี รองเท้าฉนวน บันได หรือโพเดียมอาจกีดขวางหน้าสัมผัสได้ ทั้งนี้ บริเวณพื้นดังกล่าวต้องได้รับการต่อกราวด์ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นจะไม่สามารถระบุตำแหน่งของสายไฟได้
  • สัญญาณในช่วง 50 ถึง 60 Hz ของสายนำไฟฟ้าบริเวณเหนือสายไฟต้องมีค่าที่สูงกว่าสายไฟบริเวณใกล้เคียงโดยตรง หากผนังชื้นมากหรือขาดประสิทธิภาพในการต่อกราวด์ สัญญาณบริเวณผนังทั้งแถบจะมีความแรงเท่ากัน เครื่องมือวัดจะแสดงการตรวจพบสัญญาณเป็นบริเวณกว้าง แต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของสายไฟได้
    ในกรณีดังกล่าว ให้ใช้วิธีทาบมือด้านที่ว่างอยู่กับผนังโดยรักษาระยะห่าง 20–30 ซม. จากเครื่องมือวัดเพื่อให้สัญญาณเบี่ยงออกจากผนัง ทั้งนี้ไม่ควรเปลี่ยนตำแหน่งของมือด้านที่ว่างอยู่ในระหว่างที่ทำการตรวจวัด
  • สายไฟฟ้าแบบหลายเฟส (หรือที่เรียกว่ากระแสไฟแบบสามเฟสหรือกระแสไฟสูง) จะไม่ถูกระบุเป็นสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้า เนื่องจากสัญญาณของแต่ละเฟสทำให้เกิดการยกเลิกสัญญาณระหว่างกัน คุณสามารถหาตำแหน่งของสายไฟฟ้าแบบหลายเฟสในบริเวณที่ไม่ลึกมากโดยใช้การตรวจหาวัตถุโลหะได้
  • พื้นผิวผนังที่มีคุณสมบัตินำความร้อน เช่น กระเบื้องบางชนิดอาจทำให้เครื่องไม่สามารถแสดงผลการตรวจพบสายไฟได้ หรือไฟวงแหวน (1) อาจติดสว่างสีแดงเป็นบริเวณกว้าง
  • สายไฟที่จัดวางแบบแบนราบ (ลึกไม่เกิน 2–3 ซม.) อาจแสดงผลเพิ่มเติมเป็นวัตถุโลหะได้ อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวจะไม่รวมถึงสายไฟแบบตีเกลียว
  • ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟที่มีกระแสไฟอยู่ก่อนเจาะ เลื่อย หรือเซาะผนังเพดานหรือพื้น หลังจากทำงานเสร็จแล้วให้ตรวจสอบว่า วัตถุที่ติดกับพื้นผิวปราศจากกระแสไฟฟ้า

  • เมื่อเปิดใช้งานการตรวจหาไม้ วัตถุอื่นๆ เช่น ท่อพลาสติกที่มีน้ำอยู่ สายไฟฟ้า หรือสายแก๊สอาจแสดงผลเป็นวัตถุที่ไม่ใช่โลหะด้วยเช่นกันในบางกรณี ก่อนทำงานเจาะรู งานเลื่อย หรืองานเซาะผิว โปรดตรวจสอบโดยอาศัยแหล่งข้อมูลอื่นร่วมด้วย เพื่อยืนยันว่าพื้นผิวดังกล่าวเป็นแผ่นไม้และไม่ใช่วัตถุชนิดอื่น (เช่น ท่อพลาสติก สายไฟ หรือสายแก๊ส)
  • ตะปูและสกรูในพื้นผิวและใต้พื้นผิวอาจส่ผลให้คานไม้ปรากฏเป็นวัตถุโลหะในจอแสดงผล
  • วัตถุที่มีขนาดกว้างกว่าสามารถสังเกตได้จากไฟวงแหวน (1) ที่ติดสว่างสีแดงเป็นบริเวณกว้าง อย่างไรก็ตาม เครื่องมืออาจไม่แสดงผลวัตถุที่มีขนาดกว้างอย่างเต็มขอบเขตในบางกรณี
  • ก่อนที่จะเจาะเลื่อยหรือเดินสายเข้าไปในกำแพง คุณควรป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอันตรายด้วยชุดป้องกัน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหรือลักษณะของผนังอาจส่งผลกระทบต่อการวัด จึงอาจเกิดอันตรายได้ แม้ว่าจอแสดงผลการวัด (b) จะไม่แสดงวัตถุในบริเวณเซ็นเซอร์ ไม่มีสัญญาณเสียงเตือน วงแหวนเรืองแสง (1) ส่องสว่างสีเขียวก็ตาม