ข้อแนะนำในการทำงาน
- จับเครื่องมือไฟฟ้าเข้าบนหัวสกรู/น๊อตเมื่อเครื่องปิดอยู่เท่านั้น เครื่องมือที่หมุนอยู่อาจลื่นไถล
- เครื่องมือไฟฟ้าที่มี Bluetooth® โมดูล Low Energy GCY 42 (อุปกรณ์ประกอบ) ใส่อยู่มีการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุ ต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดในการใช้งานในท้องถิ่น ต. ย. เช่น ในเครื่องบิน หรือโรงพยาบาล
แรงบิดขึ้นอยู่กับระยะเวลากระแทก แรงบิดสูงสุดที่ได้เป็นผลจากยอดรวมของแต่ละแรงบิดที่ได้จากการกระแทก จะได้แรงบิดสูงสุดหลังจากกระแทกไปได้ 6-10 วินาที หลังช่วงเวลานี้ แรงบิดจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ต้องกำหนดระยะเวลากระแทกสำหรับทุกๆ แรงบิดที่ต้องการ ตรวจสอบแรงบิดที่ได้จริงด้วยประแจวัดแรงบิดเสมอ
การขันสกรูแบบแข็ง แบบยืดหยุ่น หรือแบบนุ่ม
ในการทดสอบ แรงบิดที่ได้ในการกระแทกเป็นลำดับติดต่อกันจะถูกวัดและโอนเข้าแผนภาพ ซึ่งจะแสดงผลเป็นเส้นโค้งของลักษณะแรงบิด ระดับความสูงของเส้นโค้งคือแรงบิดสูงสุดที่ไปถึงได้ และระดับความชันแสดงระยะเวลาที่ไปถึงแรงบิดสูงสุด
ความลาดของแรงบิดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้:
- คุณสมบัติความแข็งของสกรู/น๊อต
- ชนิดของตัวเสริม (ปะเก็นวงแหวน สปริงแผ่น แผ่นซีล)
- คุณสมบัติความแข็งของวัสดุที่จะขันสกรู/โบล์ทเข้าไป
- สภาพการหล่อลื่นน้ำมันตรงรอยต่อระหว่างสกรู/โบล์ทและวัสดุที่ขันเข้าไป
เนื่องด้วยปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จึงมีการขันแบบต่างๆ กันดังต่อไปนี้:
- การขันแบบแข็ง เกิดขึ้นเมื่อขันโลหะบนโลหะโดยใช้ปะเก็นวงแหวน หลังใช้เวลากระแทกช่วงสั้นๆ ก็จะได้แรงบิดสูงสุด (เส้นโค้งมีลักษณะลาดชัน) การกระแทกเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็นจะทำให้เครื่องชำรุดเสียหายเท่านั้น
- การขันแบบยืดหยุ่น เกิดขึ้นเมื่อขันโลหะบนโลหะ หากแต่ใช้วงแหวนสปริง สปริงแผ่น ตะปูหัวใหญ่หรือสกรู/น๊อตที่มีก้นรูปกรวย และเมื่อใช้ส่วนขยายเพิ่มเติม
- การขันแบบนุ่ม เกิดขึ้นเมื่อขันสกรู ต. ย. เช่น โลหะบนไม้ หรือเมื่อใช้ปะเก็นวงแหวนตะกั่ว หรือปะเก็นวงแหวนไฟเบอร์เป็นตัวเสริม
แรงบิดสูงสุดของการขันแบบยืดหยุ่นและแบบนุ่มจะต่ำกว่าแรงบิดขันแน่นสูงสุดของการขันแบบแข็ง และยังต้องการระยะเวลากระแทกที่ยาวนานกว่าอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
ค่าอ้างอิงสำหรับแรงบิดขันแน่นสูงสุดสำหรับสกรู
กำหนดเป็น Nm คำนวณจากรูปตัดแรงเค้น; การใช้ประโยชน์จากจุดคราก 90% (มีค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน μผลรวม = 0.12)สำหรับการควบคุม ให้ตรวจสอบแรงบิดขันแน่นด้วยประแจวัดแรงบิดเสมอ
ระดับคุณสมบัติตาม DIN 267 | สกรู/โบล์ทมาตรฐาน | โบล์ทความแข็งสูง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3.6 | 4.6 | 5.6 | 4.8 | 6.6 | 5.8 | 6.8 | 6.9 | 8.8 | 10.9 | 12.9 | |
M6 | 2.71 | 3.61 | 4.52 | 4.8 | 5.42 | 6.02 | 7.22 | 8.13 | 9.7 | 13.6 | 16.2 |
M8 | 6.57 | 8.7 | 11 | 11.6 | 13.1 | 14.6 | 17.5 | 19.7 | 23 | 33 | 39 |
M10 | 13 | 17.5 | 22 | 23 | 26 | 29 | 35 | 39 | 47 | 65 | 78 |
M12 | 22.6 | 30 | 37.6 | 40 | 45 | 50 | 60 | 67 | 80 | 113 | 135 |
M14 | 36 | 48 | 60 | 65 | 72 | 79 | 95 | 107 | 130 | 180 | 215 |
M16 | 55 | 73 | 92 | 98 | 110 | 122 | 147 | 165 | 196 | 275 | 330 |
คำแนะนำ
ก่อนขันสกรูตัวใหญ่กว่า ยาวกว่า เข้าในเป็นวัสดุแข็ง ท่านควรเจาะรูนำด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางหลักของเกลียวลึกประมาณ 2/3 ของความยาวสกรู
หมายเหตุ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กใดๆ ลอดเข้าไปในเครื่องมือไฟฟ้า
หลังจากทำงานที่ความเร็วรอบต่ำเป็นเวลานาน ท่านควรเดินเครื่องมือไฟฟ้าตัวเปล่าที่ความเร็วสูงสุดเป็นเวลาประมาณ 3 นาทีเพื่อให้เครื่องเย็นลง
คลิปเข็มขัด
ท่านสามารถใช้คลิปเข็มขัด (5) เพื่อแขวนเครื่องมือไฟฟ้า ต. ย. เช่น บนเข็มขัด จากนั้นท่านจะมีมือว่างทั้งสองข้างและสามารถหยิบจับเครื่องมือไฟฟ้าได้ตลอดเวลา